โรคกระเพาะอาหาร

โรคกระเพาะอาหาร ในความรู้สึกของประชาชนทั่วไป หมายถึง อาการปวดท้องบริเวณลิ้นปี่ และมักสัมพันธ์กับการกินอาหาร อิ่มก็ปวด หิวก็ปวด แต่ในความเป็นจริงแล้ว ยังมีสาเหตุอื่นๆ ที่มีอาการใกล้เคียงกับอาการดังกล่าวข้างต้น ได้แก่

  1. นิ่วในถุงน้ำดี มักพบในหญิงวัยกลางคน หรือ ผู้ป่วยโรคทาลัสสิเมีย อาการมักปวดท้องบริเวณลิ้นปี่ เยื้องมาทางขวา อาการปวดมักรุนแรง เป็นทันที อาจนานเป็นชั่วโมง อาจปวดร้าวไปหลัง หรือไหล่ขวา
  2. กลุ่มอาการปวดท้อง irritable bowel syndrome พบบ่อยในวัยรุ่นและหนุ่มสาว เชื่อว่าสัมพันธ์กับความเครียดความกังวล อาการเด่น คือ ปวดท้องแน่น ๆ มักปวดท้องส่วนล่าง ซึ่งเมื่อถ่ายอุจจาระแล้วจะดีขึ้น มีความผิดปกติของอุจจาระ ถ่ายอุจจาระบ่อยครั้ง เหลว อาจมีมูกปน หรือรู้สึกถ่ายไม่สุด
  3. การรับประทานยาบางอย่างแล้วได้รับผลข้างเคียงจากยา เช่น ยาแก้ปวด ยาขยายหลอดลม ยาบำรุงเลือด ฯลฯ

สำหรับโรคของกระเพาะอาหารโดยตรง ที่พบบ่อย คือ โรคแผลในกระเพาะอาหาร ซึ่งพบบ่อย ในประชากรวัยทำงาน และ พบในชายมากกว่าหญิง อาการสำคัญ คือ มีอาการปวดท้องบริเวณลิ้นปี่ มักจะสัมพันธ์กับการกินอาหาร อาการจะดีขึ้น หรือ หายไป เมื่อรับประทานอาหาร ยาลดกรด หรือ นม อาการมักเป็น ๆ หาย ๆ อาจจะเป็นช่วงแรก ไม่นานแล้วก็หายไป แล้วเป็นใหม่ กลายเป็นแผลเรื้อรังได้ ซึ่งบางครั้ง อาจมีผลแทรกซ้อน เช่น มีเลือดออกจากแผลในกระเพาะอาหาร หรือ แผลนั้นทะลุเกิดการอักเสบในช่องท้อง ต้องผ่าตัดฉุกเฉินก็ได้

สาเหตุของโรคแผลในกระเพาะอาหาร

  1. การหลั่งกรดผิดปกติในกระเพาะอาหาร
  2. กรรมพันธุ์ พบว่าเกิดกับคนในครอบครัวเดียวกันได้บ่อย ๆ 
  3. บุหรี่ ทำให้มีการผลิตกรดในกระเพาะอาหารมากขึ้น นอกจากนี้ ยังทำให้แผลหายช้า
  4. ยา บางอย่าง มี ผลทั้งระคายเคืองกระเพาะอาหารโดยตรง และทำให้กลไกการป้องกันในกระเพาะอาหารเสียไป ได้แก่ ยาแอสไพริน กลุ่มยา NSAIDs ที่ใช้รักษาโรคข้อแก้ปวด ยาในกลุ่มเสตียรอยด์ ฯลฯ
  5. ความเครียดความกังวล ทำให้มีการหลั่งกรดมากขึ้น
  6. การติดเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อ Helicobacter pylori 

การรักษาโรคแผลในกระเพาะอาหาร

เนื่องจากโรคนี้ พบบ่อย ในประชากรวัยทำงาน เนื่องจากการตรากตรำทำงานหนัก กินอาหารไม่เป็นเวลา พักผ่อนน้อย มีความเครียดจากงาน และใช้ยาแก้ปวดเมื่อยบ่อย เมื่อแพทย์ ซักประวัติ อาการ ความเสี่ยง และตรวจร่างกาย เข้าได้กับโรคแผลในกระเพาะอาหาร และไม่ใช่โรคอื่น ๆ ที่อาการคล้ายกันดังกล่าวข้างต้น ก็จะให้การรักษาไปเลย
การรักษา ต้องมี 2 อย่างประกอบกันเสมอ คือ การรักษาด้วยยา และการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องของผู้ป่วย
การรักษาด้วยยา แพทย์ มักจะให้ยากลุ่มลดการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร หรือ ยาที่เคลือบผิวผนังกระเพาะอาหารไว้ เช่น ยา Cimetidine Ranitidine Omeprazole Sucralfate ซึ่งยังมีอีกหลายชนิด หลายกลุ่ม ส่วนใหญ่แพทย์มักไม่ให้ยาน้ำ อย่าง Alum milk อาจเป็นเพราะผู้ป่วยมักหามากินเอง ก่อนมาหาแพทย์ และการใช้ Alum milk อย่างเดียว เพื่อรักษาโรคแผลในกระเพาะอาหาร ต้องกินบ่อยครั้งในปริมาณมาก จนอาจมีผลข้างเคียงของยาได้ บางครั้ง แพทย์ อาจให้ Alum milk มาใช้บรรเทาอาการ ร่วมกับยาอื่นก็ได้ การรักษาด้วยยาอาจใช้เวลา 4-8 สัปดาห์ 

การปฏิบัติตัวของผู้ป่วย

 การปฏิบัติตัวของผู้ป่วย เป็นปัจจัยสำคัญ ที่จะทำให้หายเร็วขึ้น ซึ่งก็คือการลดความเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค ได้แก่

  1. รับประทานอาหารให้เป็นเวลา ควรทานสามมื้อ เว้นอาหารรสจัด งดทานอาหารว่างหลังอาหารมื้อเย็น
  2. ระหว่างรับประทานอาหาร เคี้ยวให้ละเอียด ไม่รับประทานอาหาร เวลาเหนื่อยมาก ๆ หรือหลังเล่นกีฬา
  3. งดสูบบุหรี่เด็ดขาด และควรงดดื่มสุราหรือดื่มกาแฟขณะท้องว่าง 
  4. ลดความกังวลความตึงเครียด พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  5. ละเว้นการใช้ยาแก้ปวดแก้ยอก เช่น แอสไพริน ยาในกลุ่ม NSAIDs และเสตียรอยด์ ถ้าจะต้องใช้ควรให้แพทย์ดูแลการใช้ ไม่ควรหามากินเอง

ทำไมรักษาโรคกระเพาะไม่หาย 

เนื่องจากโรคแผลในกระเพาะอาหารเป็นโรคเรื้อรัง บางครั้งอาจไม่หายเร็ว แต่เมื่อไม่หาย สิ่งที่แพทย์ต้องตรวจสอบ คือ ผู้ป่วยได้รับประทานยาตามสั่งหรือไม่ ได้ปฏิบัติตัวเหมาะสมหรือไม่ ถ้าเหมาะสมแล้ว ต้องทบทวนการวินิจฉัยใหม่ เพราะ อาจจะเป็นโรคอื่น ๆ ดังกล่าวข้างต้น เมื่อรักษาไปแล้ว 4-6 สัปดาห์ ซึ่งอาจต้องค้นหาสาเหตุเพิ่มเติม เช่น การอัลตร้าซาวด์ การเอกซเรย์กลืนแป้ง หรือ ส่องกล้องตรวจในกระเพาะอาหาร เพื่อดูให้เห็นลักษณะในกระเพาะอาหาร และวิธีหลังนี้ ยังสามารถตรวจสอบว่ามีการติดเชื้อ Helicobacter pylori ในกระเพาะอาหารหรือไม่ เพื่อจะได้ให้ยาฆ่าเชื้อร่วมด้วย

แต่บางครั้ง แพทย์อาจจะต้องให้เอกซเรย์กลืนแป้ง หรือ ส่องกล้องตรวจในกระเพาะอาหารเลย โดยไม่ต้องรอให้ยาก่อนในผู้ป่วยบางราย กรณีที่สงสัยว่า อาจจะเป็นโรคอื่น ๆ หรือ อาการเกี่ยวข้องกับมะเร็ง หรือ มีโรคแทรกซ้อนของแผลแล้ว ได้แก่ เริ่มมีอาการเมื่ออายุมากกว่า 40 ปี น้ำหนักลด ปวดรุนแรงตอนกลางคืน ตรวจพบว่าซีดหรือมีเลือดออกให้เห็นชัดเจน อาเจียนบ่อย กลืนลำบาก ตาเหลืองตัวเหลือง แพทย์คลำได้ตับโต ม้ามโต หรือก้อนอื่น ๆ ในท้อง มีประวัติครอบครัวเป็นโรคมะเร็งของทางเดินอาหาร ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้ แพทย์จะต้องดูแลเป็นพิเศษ และต้องตรวจเพิ่มเติมทันที ที่มาหาครั้งแรก

การดูแลตนเองเบื้องต้นเมื่อสงสัยว่าจะเป็นโรคกระเพาะอาหาร

ถ้ามีอาการเข้าได้ สิ่งแรก คือต้องตรวจสอบตัวเองว่ามีความเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหรือไม่ เช่น กินอาหารไม่ตรงเวลา สูบบุหรี่จัด ทำงานเคร่งเครียด ใช้ยาแก้ปวดบ่อย ให้หลีกเลี่ยงเสีย อาจซี้อยา Alum milk ซึ่งมีทั้งแบบน้ำ และแบบเม็ด ลองรับประทานดู ถ้าดีขึ้นบ้าง แล้วเป็นอีก หรือ กินแล้วไม่หาย ควรปรึกษาแพทย์

แต่ถ้าท่านมีความผิดปกติ อย่างอื่น ร่วมด้วย เช่น มีไข้ น้ำหนักลด เบื่ออาหาร อาเจียนบ่อย กลืนลำบาก ซีด ถ่ายดำ หรือ อาเจียนมีเลือดปน ปวดท้องรุนแรงตอนกลางคืน หรือเริ่มเป็นเมื่ออายุมากกว่า 40 ปี ควรปรึกษาแพทย์เลยจะดีกว่าครับ

 

โดย นพ.รักษ์พงศ์ เวียงเจริญ อายุรแพทย์

สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

หรือสั่งซื้อสินค้าได้ที่ โทร. 082 959 2695

Line ID : @bim100apco


  • e2'.jpg
    Allergy Caused by the immune state of the body reacts with protein.Or allergens from the environment.This is usually not harmful for others.But when the body gets allergens.The im...

  • e1.jpg
    ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง (AIDS) มีสาเหตุจากการติดเชื้อไวรัส HIV จากทางเพศสัมพันธ์ ทางเลือด เช่น การถ่ายเลือด การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน การสัก การเจาะหู ร่วมกับผู้ติดเชื้อหรือการติดต่อจา...

  • e3.jpg
    ด้วยไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนแปลงไปของคนทำงานในเมืองยุคปัจจุบัน ที่ต้องอยู่หน้าคอมพิวเตอร์กันมากขึ้น ประกอบกับสมัยนี้ยังมีสมาร์ทโฟนแท็บเล็ตออกมาใช้แพร่หลายไปทั่ว เกิดเป็นค่านิยมสังคมก้มห...

  • e4.jpg
    โรค SLE ย่อมาจากศัพท์ภาษาอังกฤษว่า Systemic Lupus Erythematosus หรือเรียกสั้นๆ ว่า ลูปัส (Lupus) ส่วนชื่อภาษาไทยนั้น หมอมักจะบอกผู้ป่วยให้เข้าใจง่ายๆ ว่า “โรคแพ้ภูมิตนเอง” เนื่องจา...

  • e5.jpg
    มีหลายท่านสงสัยว่าอยู่ดี ๆ เกิดอาการเวียนศีรษะ บ้านหมุน ลุกเดินไม่ได้ และเป็นอยู่บ่อย ๆ โดยไม่ทราบสาเหตุ จะเป็นอันตรายหรือไม่ ผู้มีอาการเหล่านี้ไม่ต้องกังวลค่ะผู้ที่เป็นโรคน้ำในหูไ...

  • e6.jpg
    คืออาการของโรคข้ออักเสบชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นโรคทางกรรมพันธุ์เกิดจากความผิดปกติในการใช้สารพวกพิวรีน ทำให้เกิดสารยูริคสูงในเลือด ร่วมกับอาการจากการตกตะกินของสารยูริคในข้อที่ไตและใต้ผิวห...

  • rheumatoid-arthritis-disease-treatment.jpg
    โรคข้ออักเสบที่เกี่ยวข้องกับบริเวณข้อนิ้วมือมีหลายโรค แต่ที่พบบ่อยและมีความสำคัญ จำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้อง คือ รูมาตอยด์ อาการปวดข้อนิ้วมือเป็นอีกหนึ่งอาการที่พ...

  • Ruptured-Hemorrhoids.png
    ริดสีดวงทวารคือการที่หลอดเลือดที่ปลายลำไส้ใหญ่ และทวารหนักมีการบวมโป่งพอง และมีหลอดเลือดบางส่วนยื่นออกจากทวารหนัก โครงสร้างทวารหนัก ภายในทวารหนัก (ทวารหนักอยู่ต่อจากลำไส้ใหญ่ตอนล่...

  • natural-solution-for-headache-and-migraine.jpg
    อาการปวดศีรษะไมเกรน เป็นอาการปวดศีรษะที่พบได้บ่อยเป็นอันดับ 2 รองจากอาการปวดศีรษะจากกล้ามเนื้อเกร็ง (Tension type headache) พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายประมาณ 2-3 เท่า มักเริ่มมีอาการค...

  • สาเหตุลมพิษ.jpg
    เป็นผื่นคันตามผิวหนัง บางคนมีผื่นขึ้นตามตัวแต่ไม่คัน หรือเป็นผื่นคันแล้วมีไข้ร่วมด้วย มาเช็กกันค่ะว่าผื่นคันตามตัวเกิดจากอะไรได้บ้าง แล้วบอกโรคที่ซ่อนอยู่ได้กี่โรคกันนะ ผื่นคันที่ข...

  • 19.jpg
    เบาหวาน เป็นความผิดปกติของร่างกายที่เกิดจากเบต้าเซลล์ของตับอ่อนผลิตอินซูลินไม่เพียงพอ หรือตัวรับอินซูลินที่ผิวเซลล์เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน อินซูลินเป็นสารที่ช่วยในการนำน้ำตาลเข้าสู...

  • articles-post6-1-800x400.jpg
    กรดไหลย้อน เป็นผลมาจากกรด และน้ำย่อยจากกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นไปในหลอดอาหาร ทำให้เยื่อบุหลอดอาหารอักเสบตามมา จะมีอาการท้องอืด จุกเสียดคล้ายโรคกระเพาะ แต่ยังมีอาการอื่นร่วมด้วยเช่น ...

  • maxresdefault (1).jpg
    เมื่อผู้หญิงเริ่มเข้าสู่วัย 25 ไปจนถึง 40-50 ปลายๆ น่าจะเริ่มได้ยินคำว่า“ซีสต์”กับ“เนื้องอก”บ่อยขึ้น ไม่ว่าจะมาจากผลการตรวจสุขภาพประจำปีของตัวเอง หรือมาจากอาการเจ็บป่วยของเพื่อนฝูง...

  • post_main_20180705175648.jpg
    รักษาข้อเข่าเสื่อมด้วยธรรมชาติ : ไลฟ์สไตล์ หากคุณอายุ40ปีขึ้นไปและละเลยการดูแลรักษาสุขภาพอาจมีโรคร้ายเข้ามาเยี่ยมเยือน หนึ่งในโรคท็อปฮิตที่คนวัยกลางคนและผู้สูงอายุมักหนีไม่พ้นก...

  • 01_มะเร็งเต้านม-รู้เร็ว-หายได้.jpg
    สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือสั่งซื้อสินค้าได้ที่ โทร. 082 959 2695 Line ID : @bim100apco

  • โรคสะเก็ดเงิน.jpg
    “โรคสะเก็ดเงิน” เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง พบได้ประมาณร้อยละ 1-3 ของประชากรทั้งหมด และ สะเก็ดเงิน เกิดขึ้นได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชายเท่า ๆ กัน และมักพบในวัยกล...

  • ไฮโปไทรอยด์-1.jpg
    โรคไทรอยด์เป็นพิษ หรือ โรคไฮเปอร์ไทรอยด์เกิดจากต่อมไทรอยด์มีการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินไป ทำให้อวัยวะต่างๆ ทำงานผิดปกติ เกิดการเผาผลาญมากผิดปกติ ส่งผลให้ร่างกายซูบผอมทั้งๆ ที่กินเ...

  • Hypothyroidism+disease%281%29.jpg
    ไฮโปไทรอยด์ หรือ ภาวะขาดฮอร์โมนไทรอยด์ เกิดขึ้นเนื่องจากต่อมไทรอยด์ไม่สามารถสร้างฮอร์โมนไทรอยด์ออกมาได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย บางครั้งผู้ป่วยจะรู้สึกว่าตัวเองเชื่องช้า ทำอ...

  • 04488d0589705452dafca198ba54402f.jpg
    โรคหืด (Asthma) หรือที่คนทั่วไปมักเรียกหอบหืดเป็นโรคที่เกิดจากการหดตัวหรือตีบตันของระบบทางเดินหายใจ เยื่อบุผนังหลอดลมอักเสบ ทำให้ไวต่อสิ่งกระตุ้น หรือสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกา...