ไมเกรน-ปวดหัว
อาการปวดศีรษะไมเกรน เป็นอาการปวดศีรษะที่พบได้บ่อยเป็นอันดับ 2 รองจากอาการปวดศีรษะจากกล้ามเนื้อเกร็ง (Tension type headache) พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายประมาณ 2-3 เท่า มักเริ่มมีอาการครั้งแรกตอนช่วงวัยรุ่นถึงวัยกลางคน ปวดศีรษะไมเกรนสามารถแบ่งได้ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
- ไมเกรนที่ไม่มีอาการเตือน (Migraine without aura) พบมากที่สุดในกลุ่มที่มีอาการปวดศีรษะไมเกรน
- ไมเกรนที่มีอาการเตือน (Migraine with aura) อาการเตือนที่พบบ่อย ได้แก่ การมองเห็นผิดปกติ โดยจะเห็นแสงเป็นเส้นซิกแซกคล้ายฟันเลื่อย อาจจะมีหรือไม่มีสี หรือเห็นภาพมืดไปเป็นบางส่วน หรือมองเห็นภาพไม่ชัด หลับตาแล้วยังเห็นได้อยู่ หรือเห็นภาพบิดเบี้ยว ซึ่งอาการผิดปกติของการมองเห็นจะเคลื่อนที่อย่างช้าๆ อาการเตือนอื่นๆ เช่น อาการชาที่มือ-แขน หรือชารอบปาก, ไม่สามารถพูดได้ชั่วคราวหรือนึกชื่อไม่ออก, หรือมีอาการอ่อนแรงของแขน-ขาซีกหนึ่งของร่างกาย เป็นต้น
สาเหตุของปวดศีรษะไมเกรน
อาการปวดศีรษะไมเกรน เกิดจากความผิดปกติของระบบไฟฟ้าที่ผิวสมอง ทำให้สมองเกิดการกระตุ้นได้ง่ายและไวกว่าคนปกติ หลังจากสมองถูกกระตุ้นแล้ว จะเกิดกระแสไฟฟ้าวิ่งไปตามผิวของสมองอย่างช้าๆ (ทำเกิดอาการการเตือนขึ้นมา) กระแสไฟฟ้าที่เกิดขึ้นนี้ทำให้การไหลเวียนของเลือดในสมองเปลี่ยนแปลงไป และยังไปกระตุ้นเส้นประสาทสมอง ทำให้เกิดการหลั่งสารสื่อประสาทบางชนิด มีผลทำให้หลอดเลือดสมองเกิดการขยายตัวและเกิดการอักเสบขึ้น เป็นผลทำให้มีอาการปวดศีรษะในที่สุด
ถ้าไม่ได้รับการรักษาหรือได้รับการรักษาช้า จะทำให้มีการเปลี่ยนแปลงของระบบรับความเจ็บปวดในสมอง ทำให้มีอาการปวดศีรษะที่รุนแรงขึ้น ความถี่ของการปวดศีรษะเพิ่มมากขึ้น, ไม่ตอบสนองต่อยาแก้ปวด, อาจพบอาการเจ็บแปล๊บๆ ที่บริเวณรอบกระบอกตาหรือหนังศีรษะได้ และพบความผิดปกติของสมองจากการตรวจด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า (พบสมองฝ่อเล็กลง และมีการเปลี่ยนแปลงของเนื้อสมองสีขาว)
อาการปวดศีรษะไมเกรน
ลักษณะอาการปวดศีรษะที่จำเพาะกับปวดศีรษะไมเกรน คือ จะมีอาการปวดศีรษะข้างเดียว อาจย้ายข้างได้ แต่มักเป็นทีละข้าง ลักษณะการปวดเป็นแบบตุ้บๆ (คล้ายเส้นเลือดเต้น) ความรุนแรงของอาการปวดจะรุนแรงปานกลางถึงรุนแรงมาก การทำกิจวัตรทั่วไป เช่น การเดินหรือขึ้นบันได จะทำให้อาการปวดศีรษะเป็นมากขึ้น อาการจะดีขึ้นถ้าได้พักผ่อนอยู่นิ่งๆในห้องที่มืดและเย็น ถ้าไม่ได้รับการรักษาหรือได้รับรักษาไม่เหมาะสม อาการปวดศีรษะจะเป็นอยู่นาน 4-72 ชั่วโมง
อาการร่วมอื่นๆที่พบร่วมกับอาการปวดศีรษะ คือ อาการคลื่นไส้ หรืออาเจียน มีอาการไวต่อแสง ไม่อยากเห็นแสงจ้า และไม่อยากได้ยินเสียงดัง
ในผู้ป่วยบางรายจะพบว่ามีสิ่งกระตุ้น ที่ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะไมเกรนขึ้นมา เช่น ภาวะเครียด, การอดนอน, การนอนและตื่นที่ไม่เป็นเวลา, ช่วงที่เป็นประจำเดือน, กลิ่นหรือควัน, การเปลี่ยนแปลงของอากาศ หรือ ความร้อน, แสงแดด, อาหารบางชนิด (อาหารหมักดอง, ชีส, ไวน์) ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ป่วยควรสังเกตและพยายามหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นนั้น
การดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยไมเกรน
สังเกตและหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น ที่ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ
- นอนพักผ่อนให้เพียงพอ และตรงตามเวลาทุกวัน
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ไม่หักโหมจนเกินไป
- งดสูบบุหรี่ เนื่องจากการสูบบุหรี่จะเพิ่มความเสี่ยงจากโรคหลอดเลือดสมองตีบ (Ischemic stroke)
- งดเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น กาแฟ, ชา, น้ำอัดลม, เครื่องดื่มชูกำลัง เป็นต้น
- ในผู้ที่มีความจำเป็นต้องรับประทานยาคุมกำเนิด ต้องปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ
- ถ้าอาการปวดศีรษะรุนแรงมากขึ้น หรือมีลักษณะเปลี่ยนแปลงไป ควรปรึกษาแพทย์ทันที
-
Allergy Caused by the immune state of the body reacts with protein.Or allergens from the environment.This is usually not harmful for others.But when the body gets allergens.The im...
-
ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง (AIDS) มีสาเหตุจากการติดเชื้อไวรัส HIV จากทางเพศสัมพันธ์ ทางเลือด เช่น การถ่ายเลือด การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน การสัก การเจาะหู ร่วมกับผู้ติดเชื้อหรือการติดต่อจา...
-
ด้วยไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนแปลงไปของคนทำงานในเมืองยุคปัจจุบัน ที่ต้องอยู่หน้าคอมพิวเตอร์กันมากขึ้น ประกอบกับสมัยนี้ยังมีสมาร์ทโฟนแท็บเล็ตออกมาใช้แพร่หลายไปทั่ว เกิดเป็นค่านิยมสังคมก้มห...
-
โรค SLE ย่อมาจากศัพท์ภาษาอังกฤษว่า Systemic Lupus Erythematosus หรือเรียกสั้นๆ ว่า ลูปัส (Lupus) ส่วนชื่อภาษาไทยนั้น หมอมักจะบอกผู้ป่วยให้เข้าใจง่ายๆ ว่า “โรคแพ้ภูมิตนเอง” เนื่องจา...
-
มีหลายท่านสงสัยว่าอยู่ดี ๆ เกิดอาการเวียนศีรษะ บ้านหมุน ลุกเดินไม่ได้ และเป็นอยู่บ่อย ๆ โดยไม่ทราบสาเหตุ จะเป็นอันตรายหรือไม่ ผู้มีอาการเหล่านี้ไม่ต้องกังวลค่ะผู้ที่เป็นโรคน้ำในหูไ...
-
คืออาการของโรคข้ออักเสบชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นโรคทางกรรมพันธุ์เกิดจากความผิดปกติในการใช้สารพวกพิวรีน ทำให้เกิดสารยูริคสูงในเลือด ร่วมกับอาการจากการตกตะกินของสารยูริคในข้อที่ไตและใต้ผิวห...
-
โรคข้ออักเสบที่เกี่ยวข้องกับบริเวณข้อนิ้วมือมีหลายโรค แต่ที่พบบ่อยและมีความสำคัญ จำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้อง คือ รูมาตอยด์ อาการปวดข้อนิ้วมือเป็นอีกหนึ่งอาการที่พ...
-
ริดสีดวงทวารคือการที่หลอดเลือดที่ปลายลำไส้ใหญ่ และทวารหนักมีการบวมโป่งพอง และมีหลอดเลือดบางส่วนยื่นออกจากทวารหนัก โครงสร้างทวารหนัก ภายในทวารหนัก (ทวารหนักอยู่ต่อจากลำไส้ใหญ่ตอนล่...
-
เป็นผื่นคันตามผิวหนัง บางคนมีผื่นขึ้นตามตัวแต่ไม่คัน หรือเป็นผื่นคันแล้วมีไข้ร่วมด้วย มาเช็กกันค่ะว่าผื่นคันตามตัวเกิดจากอะไรได้บ้าง แล้วบอกโรคที่ซ่อนอยู่ได้กี่โรคกันนะ ผื่นคันที่ข...
-
เบาหวาน เป็นความผิดปกติของร่างกายที่เกิดจากเบต้าเซลล์ของตับอ่อนผลิตอินซูลินไม่เพียงพอ หรือตัวรับอินซูลินที่ผิวเซลล์เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน อินซูลินเป็นสารที่ช่วยในการนำน้ำตาลเข้าสู...
-
กรดไหลย้อน เป็นผลมาจากกรด และน้ำย่อยจากกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นไปในหลอดอาหาร ทำให้เยื่อบุหลอดอาหารอักเสบตามมา จะมีอาการท้องอืด จุกเสียดคล้ายโรคกระเพาะ แต่ยังมีอาการอื่นร่วมด้วยเช่น ...
-
โรคกระเพาะอาหารในความรู้สึกของประชาชนทั่วไป หมายถึง อาการปวดท้องบริเวณลิ้นปี่ และมักสัมพันธ์กับการกินอาหาร อิ่มก็ปวด หิวก็ปวด แต่ในความเป็นจริงแล้ว ยังมีสาเหตุอื่นๆ ที่มีอาการใกล้เ...
-
เมื่อผู้หญิงเริ่มเข้าสู่วัย 25 ไปจนถึง 40-50 ปลายๆ น่าจะเริ่มได้ยินคำว่า“ซีสต์”กับ“เนื้องอก”บ่อยขึ้น ไม่ว่าจะมาจากผลการตรวจสุขภาพประจำปีของตัวเอง หรือมาจากอาการเจ็บป่วยของเพื่อนฝูง...
-
รักษาข้อเข่าเสื่อมด้วยธรรมชาติ : ไลฟ์สไตล์ หากคุณอายุ40ปีขึ้นไปและละเลยการดูแลรักษาสุขภาพอาจมีโรคร้ายเข้ามาเยี่ยมเยือน หนึ่งในโรคท็อปฮิตที่คนวัยกลางคนและผู้สูงอายุมักหนีไม่พ้นก...
-
สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือสั่งซื้อสินค้าได้ที่ โทร. 082 959 2695 Line ID : @bim100apco
-
“โรคสะเก็ดเงิน” เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง พบได้ประมาณร้อยละ 1-3 ของประชากรทั้งหมด และ สะเก็ดเงิน เกิดขึ้นได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชายเท่า ๆ กัน และมักพบในวัยกล...
-
โรคไทรอยด์เป็นพิษ หรือ โรคไฮเปอร์ไทรอยด์เกิดจากต่อมไทรอยด์มีการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินไป ทำให้อวัยวะต่างๆ ทำงานผิดปกติ เกิดการเผาผลาญมากผิดปกติ ส่งผลให้ร่างกายซูบผอมทั้งๆ ที่กินเ...
-
ไฮโปไทรอยด์ หรือ ภาวะขาดฮอร์โมนไทรอยด์ เกิดขึ้นเนื่องจากต่อมไทรอยด์ไม่สามารถสร้างฮอร์โมนไทรอยด์ออกมาได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย บางครั้งผู้ป่วยจะรู้สึกว่าตัวเองเชื่องช้า ทำอ...
-
โรคหืด (Asthma) หรือที่คนทั่วไปมักเรียกหอบหืดเป็นโรคที่เกิดจากการหดตัวหรือตีบตันของระบบทางเดินหายใจ เยื่อบุผนังหลอดลมอักเสบ ทำให้ไวต่อสิ่งกระตุ้น หรือสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกา...