ริดสีดวงทวาร
ริดสีดวงทวารคือการที่หลอดเลือดที่ปลายลำไส้ใหญ่ และทวารหนักมีการบวมโป่งพอง และมีหลอดเลือดบางส่วนยื่นออกจากทวารหนัก
โครงสร้างทวารหนัก
ภายในทวารหนัก (ทวารหนักอยู่ต่อจากลำไส้ใหญ่ตอนล่าง สุด เป็นลำไส้ใหญ่ส่วนที่ต่อกับทวารหนัก) จะมีแนวเส้นที่เรียกว่า เส้นเด็นเทท หรือเส้นเพ็กทิเนท (Dentate line หรือ Pectinate line) ซึ่งเป็นเส้นแบ่งทวารหนักออกเป็นส่วนล่างและส่วน บน ทั้งนี้เมื่อเกิดริดสีดวงทวารในส่วนที่อยู่ใต้ต่อเส้นเด็นเทท เรียกว่า “โรคริดสีดวงภายนอก(External hemorrhoids)” และเมื่อเกิดริดสีดวงทวารเหนือต่อเส้นเด็นเทท เรียกว่า “โรคริดสี ดวงภายใน (Internal hemorrhoids)”
โรดริดสีดวงทวารเป็นโรคที่พบได้บ่อย โดยมีอาการทางทวารหนักที่สำคัญคือเลือดออกขณะและหลังถ่ายอุจจาระ และติ่งเนื้อขอบทวาร อาการในระยะแรกมักเป็น ๆ หาย ๆ ไม่รุนแรง ผู้ที่มีการดำเนินโรคมากขึ้นเรื่อย ๆ มีไม่มากนักและมักกินเวลานานหลายปีก่อนจะถึงระดับที่รุนแรง ริดสีดวงแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
ริดสีดวงภายใน
คือ การที่เนื้อเยื่อของทวารหนัก ที่อยู่สูงกว่าdentate line เลื่อนตัวลงมาทางปากทวารหนักทำให้เกิดอาการเลือดออกขณะถ่ายอุจจาระ หรือยื่นออกมาจากขอบทวารหนัก
ริดสีดวงภายนอก
คือเนื้อเยื่อที่อยู่ใต้ dentate line ยืดออกเป็นติ่งเนื้อ
ริดสีดวงภายในแบ่งตามความรุนแรงเป็น 4 ระยะ คือ
- ระยะที่ 1 ริดสีดวงอยู่เหนือ dentate line และไม่ยื่นออกมานอกขอบทวาร
- ระยะที่ 2 ริดสีดวงยื่นออกมานอกขอบทวาร ขณะถ่ายอุจจาระและเลื่อนกลับเข้าไปในทวารหนัก หลังถ่ายอุจจาระ
- ระยะที่ 3 ริดสีดวงยื่นออกนอกขอบทวาร ขณะถ่ายอุจจาระ และหลังถ่ายอุจจาระต้องดันกลับเข้าไปในทวารหนัก
- ระยะที่ 4 ริดสีดวงยื่นออกนอกทวารหนักตลอดเวลา
ริดสีดวงทวารภายในและภายนอกจะเกิดร่วมกันได้บ่อยครั้ง การดูแลรักษาพิจารณาจากชนิด และ ความรุนแรงของโรค ทั้งนี้การรักษามุ่งเพื่อบรรเทาอาการ และไม่จำเป็นต้องขจัดหัวริดสีดวงทวารที่มีอยู่ทั้ง
สาเหตุของริดสีดวงทวาร
เกิดจากการที่หลอดเลือดดำหรือเนื้อเยื่อรอบทวารมีความดันสูงทำให้หลอดเลือดมีการโป่งพองออก โดยเฉพาะเมื่อเวลาเบ่งอุจาระ
ผู้ที่เสี่ยงสูงต่อการเกิดริดสีดวงทวาร
- ท้องผูก การนั่งแช่นานๆ รวมทั้งนั่งถ่ายอุจจาระนานๆ ทำให้ต้องเบ่งอุจจาระเป็นประจำ แรงเบ่งจะเพิ่มความดัน และ/หรือการบาดเจ็บในกลุ่มเนื้อเยื่อหลอดเลือด ส่งผลให้หลอดเลือดโป่งพอง หรือหลอดเลือดขอดได้ง่าย
- ท้องเสียเรื้อรัง การอุจจาระบ่อยๆจะเพิ่มความดัน และ/หรือการบาดเจ็บต่อกลุ่มเนื้อเยื่อหลอดเลือด เช่นกัน
- อายุ ผู้สูงอายุจะมีการเสื่อมของเนื้อเยื่อต่างๆรอบหลอดเลือด รวมทั้งของกลุ่มเนื้อเยื่อหลอดเลือด หลอดเลือดจึงโป่งพองได้ง่าย
- การตั้งครรภ์ เพราะน้ำหนักของครรภ์จะกดทับลงบนกลุ่มเนื้อเยื่อหลอดเลือด จึงเกิดหลอดเลือดบวมพองได้ง่าย
- โรคอ้วนและน้ำหนักตัวเกิน ส่งผลให้เพิ่มแรงดันในช่องท้องและในอุ้งเชิงกรานสูงขึ้น เช่นเดียวกับในหญิงตั้งครรภ์
- การมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก จึงเกิดการกดเบียดทับ/บาดเจ็บต่อกลุ่มเนื้อเยื่อหลอดเลือดส่วนนี้เรื้อรัง จึงมีเลือดคั่งในหลอดเลือด เกิดโป่งพองได้ง่าย
- โรคแต่กำเนิดที่ไม่มีลิ้นปิดเปิด (Valve) ในหลอดเลือดดำในเนื้อเยื่อหลอดเลือดซึ่งช่วยในการไหลเวียนเลือด จึงเกิดภาวะเลือดคั่งในหลอดเลือด จึงเกิดหลอดเลือดโป่งพองง่าย
- อาจจากพันธุกรรม เพราะพบโรคได้สูงกว่า เมื่อครอบครัวมีประวัติเป็นโรคริดสีดวงทวาร
อาการของโรคริดสีดวงทวาร
- มีก้อนเนื้อปลิ้นจากภายในขณะเบ่งถ่ายอุจจาระ และยุบกลับเข้าไปเมื่อหยุดเบ่ง เมื่อเป็นมากต้องดันจึงจะกลับเข้าไป และขั้นสุดท้ายอาจย้อยอยู่ภายนอกตลอดเวลา
- มีเลือดแดงสดหยดออกมา หรือพุ่งออกมาขณะเบ่งถ่าย หรือหลังถ่ายอุจจาระจำนวนแต่ละครั้งไม่มากนัก ไม่มีอาการปวด หรือแสบขอบทวาร หรือพบเลือดบนกระดาษชำระ เลือดที่ออกจะไม่ปนกับอุจจาระไม่มีมูก และมักหยุดได้เอง อาการเหล่านี้จะเป็นๆหายๆ
- เมื่อเป็นมาก หลอดเลือดจะบวมมาก รวมทั้งเนื้อเยื่อเกี่ยวพันรอบหลอดเลือดจะบวมออกมาถึงปากทวารหนัก เห็นเป็นก้อนเนื้อนิ่ม ปลิ้นโผล่ออกมานอกทวารหนัก ซึ่งในภาวะเช่นนี้ จะก่ออาการเจ็บปวดได้
- นอกจากอาการดังกล่าวแล้วผู้ป่วยบางรายอาจจะมีอาการคันรอบทวารหนัก
- อาจจะมาด้วยอาการมีมูกหลังจากถ่ายอุจาระ
- เมื่อมีลิ่มเลือดเกิดในริดสีดวงที่โป่งพองจะก่ออาการปวด เจ็บ บวม และก่ออาการระคายเคืองบริเวณรอบปากทวารหนัก และอาการคัน แต่มักไม่ค่อยพบมีเลือดออกจากติ่งเนื้อนี้
1. การวินิจฉัยริดสีดวงทวาร
หลักการวินิจฉัยที่สำคัญ
- คือ การแยกโรคออกจากโรคอื่น ๆเช่นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งทวารหนัก
- ตรวจดูขอบทวารหนัก ส่วนใหญ่จะปกติ หรือ อาจเห็นริดสีดวงทวารหนักยื่นออกมา
- การตรวจทวารหนักด้วยนิ้วมือ (PR) ไม่ช่วยวินิจฉัยริดสีดวงทวารหนัก แต่ช่วยตรวจแยกโรคอื่น ๆ ที่มีอาการคล้ายริดสีดวงทวารหนัก โดยเฉพาะก้อนหรือแผลบริเวณทวารหนักหรือภายใน rectum
- การตรวจด้วยส่องดูทวารหนัก anoscope จะตรวจพบหัวริดสีดวงภายในได้ชัดเจน ควรทำเสมอเพื่อการวินิจฉัยโรคที่แน่นอน
- การตรวจด้วยส่องด้วยกล้อง sigmoidoscope ควรทำในรายที่มีอายุมาก และจำเป็นต้องทำถ้ามีประวัติขับถ่ายผิดปกติเรื้อรัง หรือถ่ายเป็นมูก ปนเลือด หรือคลำก้อนได้ภายในทวารหนัก
- การส่งตรวจด้วยสวนสี x-ray ลำไส้ใหญ่ barium enema หรือการส่องกล้องดูลำไส้ใหญ่ colonoscopy ใช้ตรวจในกรณีทีอาการไม่ชัดเจนว่าเป็นโรคอะไรหรือมีอาการอื่น ๆ รวมทั้งตรวจในผู้ป่วยสูงอายุ
- การตรวจร่างกายตามปกติ
จะต้องรายงานแพทย์ทุกครั้งหากมีอาการดังต่อไปนี้
- น้ำหนัดลงชัดเจน
- ระบบขับถ่ายผิดปกติ เช่นท้องผูกสลับกับท้องผู้ก
- มีการเปลี่ยนแปลงของสีอุจาระ
- อุจาระมีเลือดปน
- พบมูกในอุจาระ
-
Allergy Caused by the immune state of the body reacts with protein.Or allergens from the environment.This is usually not harmful for others.But when the body gets allergens.The im...
-
ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง (AIDS) มีสาเหตุจากการติดเชื้อไวรัส HIV จากทางเพศสัมพันธ์ ทางเลือด เช่น การถ่ายเลือด การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน การสัก การเจาะหู ร่วมกับผู้ติดเชื้อหรือการติดต่อจา...
-
ด้วยไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนแปลงไปของคนทำงานในเมืองยุคปัจจุบัน ที่ต้องอยู่หน้าคอมพิวเตอร์กันมากขึ้น ประกอบกับสมัยนี้ยังมีสมาร์ทโฟนแท็บเล็ตออกมาใช้แพร่หลายไปทั่ว เกิดเป็นค่านิยมสังคมก้มห...
-
โรค SLE ย่อมาจากศัพท์ภาษาอังกฤษว่า Systemic Lupus Erythematosus หรือเรียกสั้นๆ ว่า ลูปัส (Lupus) ส่วนชื่อภาษาไทยนั้น หมอมักจะบอกผู้ป่วยให้เข้าใจง่ายๆ ว่า “โรคแพ้ภูมิตนเอง” เนื่องจา...
-
มีหลายท่านสงสัยว่าอยู่ดี ๆ เกิดอาการเวียนศีรษะ บ้านหมุน ลุกเดินไม่ได้ และเป็นอยู่บ่อย ๆ โดยไม่ทราบสาเหตุ จะเป็นอันตรายหรือไม่ ผู้มีอาการเหล่านี้ไม่ต้องกังวลค่ะผู้ที่เป็นโรคน้ำในหูไ...
-
คืออาการของโรคข้ออักเสบชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นโรคทางกรรมพันธุ์เกิดจากความผิดปกติในการใช้สารพวกพิวรีน ทำให้เกิดสารยูริคสูงในเลือด ร่วมกับอาการจากการตกตะกินของสารยูริคในข้อที่ไตและใต้ผิวห...
-
โรคข้ออักเสบที่เกี่ยวข้องกับบริเวณข้อนิ้วมือมีหลายโรค แต่ที่พบบ่อยและมีความสำคัญ จำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้อง คือ รูมาตอยด์ อาการปวดข้อนิ้วมือเป็นอีกหนึ่งอาการที่พ...
-
อาการปวดศีรษะไมเกรน เป็นอาการปวดศีรษะที่พบได้บ่อยเป็นอันดับ 2 รองจากอาการปวดศีรษะจากกล้ามเนื้อเกร็ง (Tension type headache) พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายประมาณ 2-3 เท่า มักเริ่มมีอาการค...
-
เป็นผื่นคันตามผิวหนัง บางคนมีผื่นขึ้นตามตัวแต่ไม่คัน หรือเป็นผื่นคันแล้วมีไข้ร่วมด้วย มาเช็กกันค่ะว่าผื่นคันตามตัวเกิดจากอะไรได้บ้าง แล้วบอกโรคที่ซ่อนอยู่ได้กี่โรคกันนะ ผื่นคันที่ข...
-
เบาหวาน เป็นความผิดปกติของร่างกายที่เกิดจากเบต้าเซลล์ของตับอ่อนผลิตอินซูลินไม่เพียงพอ หรือตัวรับอินซูลินที่ผิวเซลล์เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน อินซูลินเป็นสารที่ช่วยในการนำน้ำตาลเข้าสู...
-
กรดไหลย้อน เป็นผลมาจากกรด และน้ำย่อยจากกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นไปในหลอดอาหาร ทำให้เยื่อบุหลอดอาหารอักเสบตามมา จะมีอาการท้องอืด จุกเสียดคล้ายโรคกระเพาะ แต่ยังมีอาการอื่นร่วมด้วยเช่น ...
-
โรคกระเพาะอาหารในความรู้สึกของประชาชนทั่วไป หมายถึง อาการปวดท้องบริเวณลิ้นปี่ และมักสัมพันธ์กับการกินอาหาร อิ่มก็ปวด หิวก็ปวด แต่ในความเป็นจริงแล้ว ยังมีสาเหตุอื่นๆ ที่มีอาการใกล้เ...
-
เมื่อผู้หญิงเริ่มเข้าสู่วัย 25 ไปจนถึง 40-50 ปลายๆ น่าจะเริ่มได้ยินคำว่า“ซีสต์”กับ“เนื้องอก”บ่อยขึ้น ไม่ว่าจะมาจากผลการตรวจสุขภาพประจำปีของตัวเอง หรือมาจากอาการเจ็บป่วยของเพื่อนฝูง...
-
รักษาข้อเข่าเสื่อมด้วยธรรมชาติ : ไลฟ์สไตล์ หากคุณอายุ40ปีขึ้นไปและละเลยการดูแลรักษาสุขภาพอาจมีโรคร้ายเข้ามาเยี่ยมเยือน หนึ่งในโรคท็อปฮิตที่คนวัยกลางคนและผู้สูงอายุมักหนีไม่พ้นก...
-
สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือสั่งซื้อสินค้าได้ที่ โทร. 082 959 2695 Line ID : @bim100apco
-
“โรคสะเก็ดเงิน” เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง พบได้ประมาณร้อยละ 1-3 ของประชากรทั้งหมด และ สะเก็ดเงิน เกิดขึ้นได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชายเท่า ๆ กัน และมักพบในวัยกล...
-
โรคไทรอยด์เป็นพิษ หรือ โรคไฮเปอร์ไทรอยด์เกิดจากต่อมไทรอยด์มีการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินไป ทำให้อวัยวะต่างๆ ทำงานผิดปกติ เกิดการเผาผลาญมากผิดปกติ ส่งผลให้ร่างกายซูบผอมทั้งๆ ที่กินเ...
-
ไฮโปไทรอยด์ หรือ ภาวะขาดฮอร์โมนไทรอยด์ เกิดขึ้นเนื่องจากต่อมไทรอยด์ไม่สามารถสร้างฮอร์โมนไทรอยด์ออกมาได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย บางครั้งผู้ป่วยจะรู้สึกว่าตัวเองเชื่องช้า ทำอ...
-
โรคหืด (Asthma) หรือที่คนทั่วไปมักเรียกหอบหืดเป็นโรคที่เกิดจากการหดตัวหรือตีบตันของระบบทางเดินหายใจ เยื่อบุผนังหลอดลมอักเสบ ทำให้ไวต่อสิ่งกระตุ้น หรือสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกา...