รูมาตอยด์

โรคข้ออักเสบที่เกี่ยวข้องกับบริเวณข้อนิ้วมือมีหลายโรค แต่ที่พบบ่อยและมีความสำคัญ จำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้อง คือ รูมาตอยด์

อาการปวดข้อนิ้วมือเป็นอีกหนึ่งอาการที่พบได้บ่อยไม่แพ้อาการปวดข้อเข่า หรือปวดหลัง ซึ่งสาเหตุอาจเกิดขึ้นได้จากหลายอย่าง ทั้งที่เกิดจากความผิดปกติของเนื้อเยื่อรอบ ๆ ข้อ เช่น เอ็นอักเสบ นิ้วล็อค พังผืดกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ หรืออาจเกิดจากความผิดปกติของข้อนิ้วมือเอง ได้แก่ ข้ออักเสบ และข้อนิ้วเสื่อม โรคข้ออักเสบที่เกี่ยวข้องกับบริเวณข้อนิ้วมือมีหลายโรค แต่โรคที่พบได้บ่อยและมีความสำคัญ จำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้อง คือ โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เนื่องจากผู้ป่วยโรคนี้มีโอกาสที่ข้อจะถูกทำลาย กระดูกกร่อน และตามมาด้วยข้อผิดรูปหรือพิการได้ 

โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์เป็นโรคที่พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายในอัตราส่วน 8:1 สามารถพบได้ตั้งแต่ช่วงวัยรุ่น จนถึงวัยสูงอายุ ปัจจุบันพบว่ามีปัจจัยหลายอย่างที่เกี่ยวข้องและทำให้เกิดโรค รวมทั้งกรรมพันธุ์ การติดเชื้อ การสูบบุหรี่ และปัจจัยจากสภาพแวดล้อมบางอย่าง 

อาการสำคัญของผู้ป่วยคือปวดข้อและมีข้ออักเสบเรื้อรังที่ต่อเนื่องกันนานเกิน 6 สัปดาห์ โดยเฉพาะที่บริเวณข้อนิ้วมือ และข้อมือ แต่ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงอาจจะมีข้ออักเสบได้ทุกข้อทั่วทั้งร่างกาย รวมทั้งข้อไหล่ ข้อศอก ข้อสะโพก ข้อเข่า ข้อเท้า และข้อนิ้วเท้า ข้อที่มีการอักเสบจะมีลักษณะกดเจ็บ บวม แดง อุ่นหรือร้อน เมื่อขยับหรือใช้งานจะมีอาการปวด เวลาตื่นนอนตอนเช้าผู้ป่วยมักจะมีอาการข้อฝืด ตึง แข็ง ขยับได้ลำบาก ( morning stiffness) ต้องใช้เวลาสักพักจึงจะขยับข้อได้ดีขึ้น ในผู้ป่วยบางรายอาจจะมีไข้ต่ำๆ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร และน้ำหนักลดร่วมด้วยได้ ธรรมชาติของโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์จะมีการทำลายกระดูกอ่อนที่บุผิวข้อ ทำให้ในระยะยาวเกิดการทำลายข้อ กระดูกกร่อน ข้อผิดรูป ส่งผลต่อการใช้งาน หรืออาจก่อให้เกิดความพิการ 

นอกจากนี้ผู้ป่วยยังอาจมีอาการในระบบอื่นๆ ของร่างกาย เช่น ภาวะซีด ตาอักเสบ ปอดอักเสบมีพังผืด เส้นเลือดฝอยอักเสบ หรือภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายถึงชีวิต เช่น หลอดเลือดหัวใจตีบ และกระดูกต้นคอกดทับไขสันหลัง เป็นต้น การวินิจฉัยจำเป็นต้องอาศัยทั้งประวัติ การตรวจร่างกาย การถ่ายภาพรังสี ( x-ray) การตรวจเลือดหาค่ารูมาตอยด์ ( rheumatoid factor) และแอนติบอดี้ที่จำเพาะต่อโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ( anti-CCP) ซึ่งหากได้รับการวินิจฉัยแล้วผู้ป่วยจำเป็นจะต้องได้รับการรักษาที่ถูกต้องด้วยการใช้กลุ่มยาต้านโรครูมาติก ( disease-modifying antirheumatic drugs ; DMARDs) เพื่อลดการอักเสบของข้อ ช่วยชะลอและป้องกันการทำลายข้อได้ในระยะยาว 

เป้าหมายในการรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ในปัจจุบัน คือมุ่งหวังที่จะให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี ไม่ปวดข้อ ทำงานได้เป็นปกติ และลดโอกาสเกิดข้อพิการ ซึ่งการรักษาจะประสบความสำเร็จได้ถ้าผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยและรักษาที่รวดเร็ว โดยเฉพาะในช่วง 1 ปีแรกที่เริ่มมีอาการ ดังนั้น ถ้าผู้ป่วยเริ่มมีอาการปวดข้อ หรือสังเกตเห็นข้อบวม แดง อุ่นหรือร้อน โดยเฉพาะที่บริเวณข้อนิ้วมือ และข้อมือ หรือมีอาการข้อฝืด ตึง แข็งเวลาตื่นนอนในตอนเช้า ถึงแม้จะเป็นมาไม่นานควรจะรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อให้ได้รับการตรวจวินิจฉัยแลรักษาอย่างถูกต้องต่อไป 

*บทความโดย พญ. บุษกร ดาราวรรณกุล อายุรแพทย์โรคข้อและรูมาติสซั่ม โรงพยาบาลเวชธานี ลาดพร้าว 111

สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

หรือสั่งซื้อสินค้าได้ที่ โทร. 082 959 2695

Line ID : @bim100apco


  • e2'.jpg
    Allergy Caused by the immune state of the body reacts with protein.Or allergens from the environment.This is usually not harmful for others.But when the body gets allergens.The im...

  • e1.jpg
    ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง (AIDS) มีสาเหตุจากการติดเชื้อไวรัส HIV จากทางเพศสัมพันธ์ ทางเลือด เช่น การถ่ายเลือด การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน การสัก การเจาะหู ร่วมกับผู้ติดเชื้อหรือการติดต่อจา...

  • e3.jpg
    ด้วยไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนแปลงไปของคนทำงานในเมืองยุคปัจจุบัน ที่ต้องอยู่หน้าคอมพิวเตอร์กันมากขึ้น ประกอบกับสมัยนี้ยังมีสมาร์ทโฟนแท็บเล็ตออกมาใช้แพร่หลายไปทั่ว เกิดเป็นค่านิยมสังคมก้มห...

  • e4.jpg
    โรค SLE ย่อมาจากศัพท์ภาษาอังกฤษว่า Systemic Lupus Erythematosus หรือเรียกสั้นๆ ว่า ลูปัส (Lupus) ส่วนชื่อภาษาไทยนั้น หมอมักจะบอกผู้ป่วยให้เข้าใจง่ายๆ ว่า “โรคแพ้ภูมิตนเอง” เนื่องจา...

  • e5.jpg
    มีหลายท่านสงสัยว่าอยู่ดี ๆ เกิดอาการเวียนศีรษะ บ้านหมุน ลุกเดินไม่ได้ และเป็นอยู่บ่อย ๆ โดยไม่ทราบสาเหตุ จะเป็นอันตรายหรือไม่ ผู้มีอาการเหล่านี้ไม่ต้องกังวลค่ะผู้ที่เป็นโรคน้ำในหูไ...

  • e6.jpg
    คืออาการของโรคข้ออักเสบชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นโรคทางกรรมพันธุ์เกิดจากความผิดปกติในการใช้สารพวกพิวรีน ทำให้เกิดสารยูริคสูงในเลือด ร่วมกับอาการจากการตกตะกินของสารยูริคในข้อที่ไตและใต้ผิวห...

  • Ruptured-Hemorrhoids.png
    ริดสีดวงทวารคือการที่หลอดเลือดที่ปลายลำไส้ใหญ่ และทวารหนักมีการบวมโป่งพอง และมีหลอดเลือดบางส่วนยื่นออกจากทวารหนัก โครงสร้างทวารหนัก ภายในทวารหนัก (ทวารหนักอยู่ต่อจากลำไส้ใหญ่ตอนล่...

  • natural-solution-for-headache-and-migraine.jpg
    อาการปวดศีรษะไมเกรน เป็นอาการปวดศีรษะที่พบได้บ่อยเป็นอันดับ 2 รองจากอาการปวดศีรษะจากกล้ามเนื้อเกร็ง (Tension type headache) พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายประมาณ 2-3 เท่า มักเริ่มมีอาการค...

  • สาเหตุลมพิษ.jpg
    เป็นผื่นคันตามผิวหนัง บางคนมีผื่นขึ้นตามตัวแต่ไม่คัน หรือเป็นผื่นคันแล้วมีไข้ร่วมด้วย มาเช็กกันค่ะว่าผื่นคันตามตัวเกิดจากอะไรได้บ้าง แล้วบอกโรคที่ซ่อนอยู่ได้กี่โรคกันนะ ผื่นคันที่ข...

  • 19.jpg
    เบาหวาน เป็นความผิดปกติของร่างกายที่เกิดจากเบต้าเซลล์ของตับอ่อนผลิตอินซูลินไม่เพียงพอ หรือตัวรับอินซูลินที่ผิวเซลล์เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน อินซูลินเป็นสารที่ช่วยในการนำน้ำตาลเข้าสู...

  • articles-post6-1-800x400.jpg
    กรดไหลย้อน เป็นผลมาจากกรด และน้ำย่อยจากกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นไปในหลอดอาหาร ทำให้เยื่อบุหลอดอาหารอักเสบตามมา จะมีอาการท้องอืด จุกเสียดคล้ายโรคกระเพาะ แต่ยังมีอาการอื่นร่วมด้วยเช่น ...

  • 18.png.jpg
    โรคกระเพาะอาหารในความรู้สึกของประชาชนทั่วไป หมายถึง อาการปวดท้องบริเวณลิ้นปี่ และมักสัมพันธ์กับการกินอาหาร อิ่มก็ปวด หิวก็ปวด แต่ในความเป็นจริงแล้ว ยังมีสาเหตุอื่นๆ ที่มีอาการใกล้เ...

  • maxresdefault (1).jpg
    เมื่อผู้หญิงเริ่มเข้าสู่วัย 25 ไปจนถึง 40-50 ปลายๆ น่าจะเริ่มได้ยินคำว่า“ซีสต์”กับ“เนื้องอก”บ่อยขึ้น ไม่ว่าจะมาจากผลการตรวจสุขภาพประจำปีของตัวเอง หรือมาจากอาการเจ็บป่วยของเพื่อนฝูง...

  • post_main_20180705175648.jpg
    รักษาข้อเข่าเสื่อมด้วยธรรมชาติ : ไลฟ์สไตล์ หากคุณอายุ40ปีขึ้นไปและละเลยการดูแลรักษาสุขภาพอาจมีโรคร้ายเข้ามาเยี่ยมเยือน หนึ่งในโรคท็อปฮิตที่คนวัยกลางคนและผู้สูงอายุมักหนีไม่พ้นก...

  • 01_มะเร็งเต้านม-รู้เร็ว-หายได้.jpg
    สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือสั่งซื้อสินค้าได้ที่ โทร. 082 959 2695 Line ID : @bim100apco

  • โรคสะเก็ดเงิน.jpg
    “โรคสะเก็ดเงิน” เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง พบได้ประมาณร้อยละ 1-3 ของประชากรทั้งหมด และ สะเก็ดเงิน เกิดขึ้นได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชายเท่า ๆ กัน และมักพบในวัยกล...

  • ไฮโปไทรอยด์-1.jpg
    โรคไทรอยด์เป็นพิษ หรือ โรคไฮเปอร์ไทรอยด์เกิดจากต่อมไทรอยด์มีการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินไป ทำให้อวัยวะต่างๆ ทำงานผิดปกติ เกิดการเผาผลาญมากผิดปกติ ส่งผลให้ร่างกายซูบผอมทั้งๆ ที่กินเ...

  • Hypothyroidism+disease%281%29.jpg
    ไฮโปไทรอยด์ หรือ ภาวะขาดฮอร์โมนไทรอยด์ เกิดขึ้นเนื่องจากต่อมไทรอยด์ไม่สามารถสร้างฮอร์โมนไทรอยด์ออกมาได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย บางครั้งผู้ป่วยจะรู้สึกว่าตัวเองเชื่องช้า ทำอ...

  • 04488d0589705452dafca198ba54402f.jpg
    โรคหืด (Asthma) หรือที่คนทั่วไปมักเรียกหอบหืดเป็นโรคที่เกิดจากการหดตัวหรือตีบตันของระบบทางเดินหายใจ เยื่อบุผนังหลอดลมอักเสบ ทำให้ไวต่อสิ่งกระตุ้น หรือสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกา...